วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


งานครั้งที่ 3- -cross word-Computer Hardware

Across
3. The amain circuit board of a computer. 
แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์
5. an input device that can convert printed text or graphics into computer files. 
อุปกรณ์อินพุทที่สามารถเเปลงข้อความที่พิมพ์หรือกราฟิกลงในแฟ้มคอมพิวเตอร์
10. Device used to feed data to the computer.
 อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์
12. A type of device that shows processed information. 
ประเภทของอุปกรณ์ที่เเสดงข้อมูลการประมวลผล
13. One million operations per second, a measure of CPU speed. 
หนึ่งล้านการดำเนินงาานต่อวินาที,วัดความเร็วของ CPU

Down
1. A device for converting digital computer data to analog phone signals, and vice versa. อุปกรณ์สำหรับการเเปลงข้อมูลดิจิทัลคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์อะนาล็อคและในทางกลับกัน
2. An output device that produces output on paper. 
อุปกรณ์เเสดงผลที่พิมพ์ออกมาบนกระดาษ
4. An output device that displays information on screen. 
อุปกรณ์แสดงผลที่แสดงข้อมูลบนหน้าจอ
6. Brain of the computer 
สมองของคอมพิวเตอร์
7. Temporary working memory, accessed randomly. 
หน่วยความจำที่ทำงานชั่วคราวเข้าถึงได้แบบสุ่ม
8. Smallest unit of data that can be stored. 
หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดที่สามารถเก็บไว้ได้
9. a pointing input device named after an animal.
 อุปกรณ์ป้อนข้อมูลที่ตั้งชื่อตามสัตว์
11 what do laptops use instead of mouse? 
อะไรที่ใช้แทนเมาส์ในเเล็ปท็อป?

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สรุปเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ครั้ง 2

1. ประเภทของอุปกรณ์สื่อที่ใช้จัดเก็บข้อมูล
อุปกรณ์ สื่อบันทึกข้อมูลและเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล
1.    Floppy Disk
2.    Harddisk
3.    CD-ROM Drive
4.    DVD-ROM Drive
5.    แฟลชไดรฟ์ 
6.    เทคโนโลยี Blu-Ray
7.    เทคโนโลยี HD-DVD
8.    Floptical Disk
9.    ZIP drive ของ Iomega  Jazz drive
10.    เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup )
11.    การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )
2. ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
3. ประเภทหน่วยความจำ ขนาด ความจุ
  1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory)สามารถแบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่
                                    รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
                แรม (Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
              2) หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำ(External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
                                  ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
               ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น
               ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)
               รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive)สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128   จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive
 
                  ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์
 
                  Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์
 
               เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มาก  ๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์
 
                  การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
4. การใช้คำสั่งบันทึกข้อมูล
  1. Save บันทึกไฟล์ในรูปแบบ ปกติ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ ของ PSD สามารถกลับมาแก้ไขงานใหม่ได้โดยเปิดโปรแกรม photoshop
  2. Save As บันทึกไฟล์ในรูปแบบ อื่น ๆ ได้ เช่น JPEG, BMP, GIF เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน
  3. Save for Web บันทึกไฟล์ในรูปแบบ สำหรับการใช้งานบนเว็บ เช่น ไฟล์ Html และไฟล์รูปภาพ JPEG, GIF, PGN เป็นต้น
5. การใช้คำสั่งเปิดแฟ้มข้อมูล
1. การเปิดจากเมนูคำสั่ง
- คลิกเมาส์ที่เมนูคำสั่ง แฟ้ม
- เลือกคำสั่ง เปิด
2. การเปิดจากปุ่มคำสั่ง
- คลิกเมาส์ที่ปุ่ม 
3. การเปิดจากแป้นคีย์บอร์ด
- กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกด O ( โอ )

6. จำนวนคีย์บนแป้นพิมพ์มาตรฐาน
แป้นพิมพ์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยปุ่มต่างๆ ตามมาตรฐานของไอบีเอ็ม  จำนวน 101 ปุ่ม ยกเว้นแป้นพิมพ์ของเครื่องโน๊ตบุ๊คที่อาจมีปุ่มน้อยกว่านี้ ในปัจจุบันมีแป้นพิมพ์แบบ 104 ปุ่มที่ใช้สำหรับ Windows 95 ด้วย
7. กระบวนการในการคัดลอกข้อมูล คำสั่ง วิธีการ
1.  กำหนดพื้นที่ทำงาน
2.  คลิกที่คำสั่ง แก้ไข (EDIT) > คัดลอก (COPY) หรือคลิกที่สัญรูป 
เมื่อทำการคัดลอกจะปรากฏเส้นประ (Marky) ล้อมรอบเซลล์ที่ถูกเลือก
3.  คลิกที่พื้นที่ที่จะวางข้อมูล
            4.  คลิกที่คำสั่ง แก้ไข(EDIT) > วาง (PASTE) หรือคลิกที่สัญรูป 
การคัดลอกเซลล์โดยการใช้ปุ่ม Ctrl + C
วิธีนี้เป็นการคัดลอกข้อมูล มีวิธีการดังนี้
1.       เลือกเซลล์ที่ต้องการคัดลอก
2.       กดปุ่ม Ctrl กับปุ่ม C พร้อมกันปรากฏ
3.       คลิกที่เซลล์ที่ต้องการวาง กดปุ่ม Ctrl กับ ปุ่ม V พร้อมกัน
การคัดลอกเซลล์โดยการใช้ปุ่ม Ctrl
เป็นการาคัดลอกช่วงของแผ่นงาน ซึ่งรวมถึงค่าตัวเลขและสูตรที่อยู่ในเซลล์นั้น
1.       เลือกเซลล์ที่ต้องการจะคัดลอก
2.       นำเมาส์ไปชี้ที่ขอบของเซลล์ที่เลือกไว้ ซึ่งต้องให้เมาส์เป็นรูปลูกศร ( )
3.       ลากมาไว้ในเซลล์ที่ต้องการวาง โดยในขณะที่ลากเมาส์นั้นต้องกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ด้วย

การคัดลอกข้อมูลโดยใช้ AutoFill
ข้อมูลที่มักใช้บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวเลข มีลักษณะเป็นข้อมูลที่ต้องเรียงลำดับ เช่นชุดลำดับเลขคณิตที่มีการเพิ่มหรือลดด้วยอัตราที่เท่ากัน ข้อมูลที่มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น เดือนต่าง ๆ ของปี  วันต่าง ๆ ของสัปดาห์ โปรแกรม Excel จะเอื้ออำนวยความสะดวกในการป้อนข้อมูลลงในตารางเป็นข้อมูลที่ซ้ำ ๆ กัน และอยู่ติดกันเราสามารถคัดลอกข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยวิธีการ AutoFill ได้
1.       คลิกเมาส์เลือกเซลล์และเลื่อนเมาส์ไปที่มุมขวาล่างของเซลล์เป็นเครื่องหมาย + เล็ก ๆ
2.      คลิกเมาส์ค้างไว้พร้อมกับ ลากเมาส์ (Drag mouse)
3.       ปล่อยเมาส์ข้อมูลถูกคัดลอกมา

การคัดลอกเซลล์โดยการลากที่ จุดจับเติม (Fill handle)
            วิธีนี้เป็นการคัดลอกข้อมูล และสูตรต่าง ๆ มีวิธีการดังนี้
4.       เลือกเซลล์ที่ต้องการคัดลอก
5.      นำเมาส์ไปชี้ที่มุมขวาล่างของเซลล์ที่เลือกไว้ หรือเรียกว่า จุดจับเติม (Fill Handle) ซึ่งต้องให้เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาทสีดำ (+) แล้วให้ลากเมาส์ลงมา

8. การแทนที่ข้อความด้วย โปรแกรม WORD
 1. คำสั่ง [ แก้ไข > แทนที่ ]
      2.กรอกคำที่ต้องการค้นหา
      3. กรอกคำใหม่ที่จะมาแทนที่
          
4.คลิกเมาส์ แทนที่หรือแทนที่ทั้งหมด
            

9. หน่วยบอกความละเอียดของจอภาพ
Dpi จึงเป็น แค่ค่าที่ไว้อ้างอิง “เมื่อเรา พิมพ์ภาพ หรือ แสดงผลบนจอ ว่าขนาดของภาพจะเป็น กี่นิ้ว”? เมื่อเราคำนวณ จาก? image size (ขนาด กว้าง x ยาว ของ Pixel)
เช่น
.
เรามีภาพขนาด 600 x 1200 pixels เมื่อพิมพ์ ด้วยความละเอียด 150 dpi จะได้ภาพ ขนาดเท่าไหร่
.
วิธีการ ก็เป็น แบบคณิตศาสตร์ สมัยประถม
150 จุด???? ได้??? 1 นิ้ว
600 จุด???? ได้?? 1x 600 / 150? = 4 นิ้ว
1200 จุด?? ได้?? 1x 1200 / 150 = 8 นิ้ว

ขนาดภาพที่ได้ คือ 4 x 8 นิ้ว

.
หรือ ใช้คิดในทางกลับกัน คือ? เราต้องการภาพ 16 x 20 นิ้ว ที่ 300 dpi ต้องทำภาพ ขนาด กี่ pixel
1 นิ้ว มีจุด? 300 จุด
16 นิ้ว มีจุด? 16 x 300 = 4800 จุด
20 นิ้ว มีจุด? 20 x 300 = 6000 จุด
ต้องใช้ภาพขนาด 4800 x 6000 pixel
เป็นต้น
.
ซึ่งการคิดข้างต้นใช้เมื่อเราทำภาพไปพิมพ์ ลงกระดาษ เนื่องจากเราสามารถเลือกระดับความละเอียดได้
.
วิธีการคิดความละเอียด บนจอภาพ มีลักษณะ แตกต่างกันออกไป
ในการแสดงผล บนจอ 15 นิ้ว ส่วนมากจะให้ความละเอียด 600 x 800 pixels
หรือ 72 dpi โดยประมาณ
ในการแสดงผล บนจอ 17 นิ้ว จะให้ความละเอียด 1024 x 768 pixels
หรือ 92 dpi โดยประมาณ
หรือ กรณี จอที่ฉาย บน Projector ก็เปลี่ยนไปตามระยะ ห่างจากโปรเจคเตอร์ ถึง จอรับภาพ
.
ซึ่งจะเห็นว่า เราไม่สามารถควบคุม ได้ว่าจะให้ผู้ใช้งานใช้จอ ที่ความละเอียดเท่าไหร่ ขนาดจอใหญ่แค่ไหน
เมื่อแสดงผลภาพบนจอคอมพิวเตอร์ ค่า Dpi จึงไม่สามารถควบคุมได้ เพราะ เปลี่ยนแปลงไปตาม จอ ของผู้ใช้แต่ละคน

ให้ลืมค่า Dpi ไปได้เลย

.
เราจะ คำนึงถึงสัดส่วนของ จอภาพ เป็นหลัก ว่าปัจจุบัน จอที่ผู้ใช้ทั่วๆไปใช้งาน (รวมถึงโปรเจคเตอร์) ส่วนใหญ่อยู่ที่ความละเอียด 1024 x 768 pixels เพราะฉะนั้น หากเรา ต้องการแสดงภาพ (อีกหน่อย คนใช้จอ 24″ มากขึ้น มาตรฐานก็เปลี่ยนไป)
ขนาดภาพ ควรจะน้อยกว่า 1024 x 768 pixels การใส่ภาพ ที่ใหญ่กว่านี้ เข้าไป แล้ว จับย่อในโปรแกรมเช่น power point ไม่ได้ ช่วยให้ภาพมีความละเอียดมากขึ้น เพราะจอ แสดงผลภาพนั้นๆ ออกมาที่ 1024 x 768 pixels อยู่ดี
.
หรือ กรณี ที่เราอัพโหลดภาพขึ้นไปบน web หรือส่ง email ภาพทั่วๆไป
ถ้าเราส่งภาพที่ไม่ได้ย่อ Browser ( IE, Firefox, Safari) ส่วนมาก ก็จะแสดงผลของภาพนั้นๆ
ที่ขนาด 100%? ผลคือ ภาพที่ จำนวน pixel มากกว่า จำนวน pixel ของจอ จะแสดงผลออกไปล้นจอ หรือ ถ้าโปรแกรม Browser นั้นๆ ย่อรูปให้อัตโนมัติ ภาพก็กลับมาแสดงผลที่ ความละเอียดจริงของจอ (คือ น้อยกว่า 1024 x 768? pixels)
.
การทำงาน กับการแสดงผลบนจอภาพ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟล์ขนาดใหญ่
เนื่องจาก เราจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากการใส่ไฟล์ที่ใหญ่เกินไปขึ้นบนจอ

.
มาตรฐาน อีกตัว ที่เราจำเป็นต้องรู้ และเป็นจุดที่ทำให้ คนทั่วไปยิ่งพยายามบ้าความละเอียดมากขึ้นไปกันใหญ่ คือ
ในการพิมพ์งาน พิมพ์ ออฟเซต หรือ ที่เรียกว่า พิมพ์สี่สี คุณภาพสูง ตามโรงพิมพ์ทั่วๆไป ใช้ความละเอียด? 300 Dpi
.
ตรงนี้ทำให้เกิด อาการบ้าความละเอียดได้
10. หน่วยที่บ่งบอกขนาดของ -CPU

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


    สรุปเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ครั้ง 1

1. ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
2. ความหมายของ e-commerce
 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การท าธุรกรรมทุกรูปแบบโดยการครอบคลุมถึงการซื้อ -ขาย
สินค้า/บริการ การช าระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทาง
อินเตอร์เน็ต 

3. โดเมนเน
 ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง 
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
4. ชื่อ  url เว็บกระทรวงศึกษา
    www.moe.go.th
     ชื่อ  url สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    www.obec.go.th/
5. ความหมาย world wide web
คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
6. การบริการส่งถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นบริการของอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดิโอ หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
  1. การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องของเราไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ (Host) เรียกว่า การอัปโหลด (Upload) ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถใช้งานจากข้อมูลของเราได้
  2. การที่เราถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากโฮสต์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า การดาวน์โหลด (Download)
7. การแปลงเลขฐาน
8. ความหมายของ Digital Computer
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ซึ่งจะแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการทางเลขคณิต โดยป้อนข้อมูลเป็นตัวเลข และให้ผลลัพธ์เป็นเลข คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จะคิดคำนวณในระบบตัวเลขด้วยสัญญาณดิจิทัล คือ บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบ และจะให้ค่าที่ไม่ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์นั้นแบ่งตามลักษณะการรับ/ส่งข้อมูลเป้น 2 ชนิด คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) และดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ส่วนมากจะเป็น ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เกือบทั้งสิ้น ผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จะถูกต้องและแม่นยำกว่าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ดู analog computer เปรียบเทียบ

9. Hardware ที่ทำหน้าที่ประมวลผล
 ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

10. การเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เจ้าของบล็อก

ด.ญ.อสมาภรณ์ วงษ์จีน เลขที่ 17 ป.6/2
ห้องคุณครูอรทัย พิพัฒนบัญชา
โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ